เรื่องข่าวการเมืองไม่ค่อยจะสนใจเท่าไหร่ (จริงๆ ก็ไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษทั้งนั้นแหละ) จัดบล็อกใหม่ไปเรื่อย แล้วเห็นว่าเนื้อหาที่เคยเขียนไว้ใน Exteen น่าจะอยู่ในนี้มากกว่า ก็เลยย้ายที่มา (ปรับเวลาให้ตรงกับที่โพสไว้ในบล็อกเดิมด้วยเลย...)
ข่าวการศึกษาของ กรุงเทพธุรกิจลงไว้ (แต่เราเอามาจากเฟสบุค!!) เพราะนโยบายของรัฐบาลที่จะแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 เป็นเรื่อง บิล เกตส์ ทุ่มเงินแก้ปัญหาการศึกษา ด้วยการยกระดับครู ไม่ใช่แจกคอมพ์
ความคิดเห็นของเราในเรื่องแจกแท็บเล็ตเนี่ย ไม่สนับสนุนนะ และเชื่อว่าหลายคนก็คงจะเคยได้รับเมลล์ส่งต่อของการขอของครูในโรงเรียนต่างจังหวัด ที่ต้องการเปลี่ยนการแจกแท็บเล็ตเป็นห้องเรียนหรืออาคารเรียน ขอครูเพิ่ม ขอหนังสือเรียน สมุด เครื่องเขียนและของใช้อื่นๆสำหรับเรียนหนังสือ และเสริมความรู้ให้เด็ก
เราเองใช้ชีวิตในเมื่องมาตั้งแต่เกิด คอมพังใช้ทำงานส่งครูไม่ได้เลยก็เคยมาแล้ว เข้าใจดีว่าไม่มีมัน เราก็ลำบาก แต่ถ้าพูดถึงความจำเป็น มีแค่ดินสอ ปากกา สีอีกนิดๆ หน่อยๆ และกระดาษหรือสมุดสักเล่ม ก็เรียนรู้อะไรได้ไม่น้อยเหมือนกัน แต่เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตแบบคนเมืองที่คนส่วนมากให้ความเชื่อถือ และนับถือคนที่สร้างภาพ ดูมีฐานะ บางอย่างก็ต้องมีตามกระแสไป เพราะสังคมพยายามสร้างวัตถุนิยมให้กับคนทุกวัย ไม่เว้นกระทั่งเด็ก และความเป็นเด็กที่พ่อแม่มักจะตามใจ เพราะไม่อยากให้ลูกตัวเองลำบากหรือด้อยไปกว่าใคร แม้ว่าพ่อแม่จะไม่มีจะกินก็ตาม...
เอาจากในเนื้อข่าวก่อน...
"หลักการของ บิล เกตส์ ในการยกระดับการศึกษา คือ :
1. หาคนที่เป็นครูได้ดี ฝึกปรือเขาและเธอให้เก่ง และตอบแทนครูที่ทำหน้าที่ได้ดี เพราะว่านั่นแหละคือหัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับการสร้างชาติ"
- เห็นด้วยนะกับการสนับสนุนคนที่ทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว ให้พัฒนายิ่งขึ้น แต่ต้องไม่ลืมพัฒนาเรื่องของจิตใจด้วย
หมายถึงว่า บางคนต้องการได้รับพัฒนาแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไร พอได้ความรู้ ปีกกล้าขาแข็งก็จากไปหรือเลือกที่จะทำประโยชน์ให้ตัวเองมากกว่า ทั้งๆ ที่ส่วนรวมคอยสนับสนุนให้
2. "งบประมาณปีละ 15,000 ล้านดอลลาร์ ที่ใช้ปรับเงินเดือนให้ครูที่สอบยกระดับปริญญาของตัวเองขึ้นไป ซึ่งแกบอกว่าวัดแล้ว ไม่มีผลอะไรต่อการทำหน้าที่ของการเป็นครูแต่อย่างไร"
- อายุงานก็ควรได้ไปตามนั้น (โดยเฉพาะในระบบราชการ ถ้ายังอยากให้มีหน่วยงานด้านการศึกษาที่เป็นของรัฐหลงเหลืออยู่บ้าง) ขอออกตัวก่อนว่าไม่ทราบฐานเงินเดือนครูของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาเอกชนจริงๆ แต่คาดว่าคงเยอะกว่าสถาบันของรัฐเยอะ และน่าจะขึ้นกับผลงานของผู้สอนด้วย (ซึ่งนั่นก็ถูกแล้ว ถ้าไม่ต้องมีงานรองบาทาใครให้ทำ)
แอบชอบความเห็นของ ssss15 ที่ว่า
"ความจริงน่าเห็นใจคุณครูทั้งหมด ครูก็มีครอบครัว มีลูกมีหลานเหมือนคนทั่วไป แต่เงินเดือนครูน้อยนิด บ้างจึงต้องไปสอนตาม รร.กวดวิชา เพื่อมีรายได้เพิ่ม ซึ่งก็ไม่ผิดแต่เนื้อหาวิชาใน รร.ต้องเต็มที่ ไม่ขยักความรู้เอาไว้เพื่อให้เด็กไปเรียนเสริมกับตน"
- บอกตรงๆว่าตอนเป็นนักเรียนก็เคยคิดนะ ว่าทำไมครูไม่สอนเหมือนกวดวิชาเค้าสอน เอะอะก็ไปประชุม (มารู้ซึ้งถึงความอยากเรียนตอนมัธยมปลาย เพราะถ้าครูไม่อัดเนื้อหาจะสู้โรงเรียนอื่นไม่ได้ ไม่อยากเรียนก็ต้องเรียนล่ะนะเวลานั้น) เราไม่อยากเอาเวลาวันหยุดไปเรียนพิเศษ เพราะจะได้เอาเวลาเดินทาง นั่งเรียนมาทำการบ้าน และทบทวนเองจะดีกว่ามั้ย แต่พอมาเป็นคนสอนเอง การที่ครูต้องไปประชุมเป็นกิจวัตร เป็นเรื่องจริง และต้องทำไม่น้อยไปกว่าการสอนด้วย โดยเฉพาะครูที่ต้องการความก้าวหน้าที่ทำให้ได้เงินเพิ่มขึ้น มากกว่ามาพัฒนาการสอนเพื่อเพิ่มคุณภาพของผู้เรียน (เราเองก็เป็นแบบนี้บางส่วนด้วยละนะ แต่... ฟังเสียงกูหน่อยยย)
3. "บิล เกตส์ เชื่อว่าครูที่ยอมรับนักเรียนเพิ่มในห้องของตนควรจะได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น เพื่อว่านักเรียนจะได้ประโยชน์จากครูเก่งๆ มากขึ้นกว่าเดิม"
- อันนี้ บอกตรงๆว่าไม่เห็นด้วยมากนัก เพราะเราเองก็อยู่ในฐานผู้สอนคนนึงในสายงานที่เน้นการปฏิบัติ ถ้าจำนวนผู้เรียนเยอะ การเรียนจะต้องเป็นไปแบบ "แพทเทิร์นเดียวกัน" เพื่อให้ตรวจงาน ให้คะแนนง่ายๆ แล้วเด็กจะได้อะไร?? เพราะงานที่ต้องเน้นทักษะปฏิบัติ เด็กแต่ละคนทำได้ไม่เท่ากันหรือคนที่เก่งอยู่แล้วจะพัฒนาต่อได้ยังไง รับเยอะจะสร้างคุณภาพได้มากกว่าจริงๆเหรอ??? อีกประเด็นคือเรื่องของการมีจำนวนผู้เรียนเยอะ ถ้าเป็นวิชากลุ่มที่เป็นแต่หลักการคงไม่เถียงการรับผู้เรียนเยอะๆนะ แต่ถ้าเป็นงานปฏิบัติอย่างที่บอกว่าถ้าคนเยอะ การพัฒนาของแต่ละคนจะลดลง ถ้ารับเยอะแล้วแบ่งเป็นห้องย่อย ให้คนสอนเป็นคนเดียวกัน จำนวนรอบที่สอนจะเยอะขึ้น ซึ่งในกรณีที่คนสอนไม่ต้องทำงานรองอะไรเลย หรือไม่มีหน้าที่มากไปกว่าการสอน และวิจัย (ถ้ามันไม่มีประโยชน์มากนัก จะทำไปทำไมไม่รู้) ก็สนับสนุนให้มีคนเรียนด้วยเยอะๆ นะ
เห็นด้วยกับความเห็น... ลานทอง สะท้าน
"นักการเมือง เขา ไม่ต้องการให้คนไทยฉลาดหรอก ต้องโง่มากๆเข้าไว้ จะได้ จูงจมูก ชี้นำง่ายงัยหละ คนฉลาด เวลาเสพข้อมูล ต้อง ไตร่ตรองก่อนถึงจะเชื่อ แต่คนโง่เชื่อสิ่งที่.....เขาเล่ามา....อย่างหัวปักหัวปำ...ไม่ฉลาดคิดถึงความเป็นไปได้ว่าจริงหรือเท็จ แยกแยะไม่ออก แล้วก็เอาเรื่อง...เขาเล่ามา... มาเล่าต่อๆๆๆๆ...โดยหารู้ไม่ว่า ความจริง เป็นอย่างไร..............."
".........ไม่ส่งเสริมให้คนมีความรู้ กลับจ้องเอาเปรียบ คนไม่มีความรู้ พวกนี้เลย ช่วยตัวเองไม่ได้ หวังพึ่งพา อย่างเดียว สุดท้าย ทำอะไรไม่เป็น ...แล้ว ชาติจะก้าวหน้าได้อย่างไร.....เฮ้อ ....เหนื่อย"
ความเห็นที่ดูจะขัดแย้งที่สุดก็มีขึ้นมา...
"ยุคสมัยนี้ ความรู้หาได้จาก internet ครับ... ดังนั้น การแจก tablet ก็เพื่อให้เด็กๆ ได้รับ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การสื่อสารกับผู้รู้ได้ ถ้าเข้าใจในเรื่องนี้ก็อย่าได้แปลกใจ .... นี่คือ ก้าวแรกของการปฏิรูปการศึกษาแน่นอนครับ" - ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย
ก็เห็นด้วยนะ แต่พออ่านความเห็นจากคนอื่นๆ ที่คิดในอีกมุมนึง...
"แล้วบางแห่ง internet เข้าถึงแล้วเหรอคะ?
แล้วเรามีบุคลากรสอนการใช้คอมฯใช้อินเตอร์เน็ตพอแล้วเหรอคะ?
แค่คนสอนวิชาทั่วไปยังมีไม่พอ... แล้วความรู้ใน internet มันถูกต้อง 100% แล้วเหรอคะ" - Amo Oma
"ข้อสังเกต
1.ถ้าแจกแล้วได้ผลจริงนะ ความแตกต่างระหว่างเด็กบ้านนอกและเด้กในเมืองคงเพิ่มขึ้น ช่องว่างทางชนชั้นคงเพิ่มขึ้น
นึกถึงเด็กบนดอย ไฟฟ้ายังไม่มีเลย นับประสาอะไรกับโครงสร้างพื้นฐาน สัญญาณไวไฟที่จะใช้ในการอัพโหลด ดาวน์โหลดข้อมูล
2.มีเนื้อหาสาระหรือยังที่จะสั่งลงไปในแท็บเลต หรือไว้เป็นแค่ของเล่นคนรวย
3.อย่าไปคิดไรมาก ก้อเหมือนยุคนึงที่เราตื่นเต้นกับพีซีรุ่น 286 หรือ 486 เราอาจจะได้คนเก่งเพิ่มขึ้นหรือคนที่มีอาชีพเขียนแอพเพิ่มขึ้นก้อได้
4.จะโทษเด็กไปเล่นเกมส์ได้ยังไงในเมื่อพ่อแม่เด็กไม่รู้จักสั่งสอนหรือดูแลลูกเต้า" - Wichan Pisut
แต่อีกความเห็นนึงที่เห็นด้วยมากมายคือความเห็นนี้...
"ครูบางส่วนที่ทุ่มเทพัฒนาตนเองสอนเด็ก แต่ไม่มีเวลาทำผลงานทางวิชาการ หรือดูแลผู้บริหาร ก็อาจไม่ก้าวหน้า" - Sarayuth Kunlong
- ขอต่อนะ คือ ความก้าวหน้าหมายถึงเงินทางที่จะเอามาปลดหนี้ได้ ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ค่าครองชีพเอาแต่สูงขึ้นๆได้ ถ้าครูที่ทุมเทกับการสอนเด็ก แต่ต้องอดๆอยากๆ ถามว่ามีใครจะมาช่วยดูแลมั้ยนอกจากครอบครัวของคนที่เป็นครู
เรื่องเงินเดือนของอาชีพครู/อาจารย์ ถ้ามองแบบเห็นแก่ตัวหน่อย ก็จะบอกว่า
1. เราก็ต้องการเงิน เพราะค่าใช่จ่ายสูงขึ้นทุกทาง และขึ้นเร็วกว่าเงินเดือน ถ้าให้มาห่วงคุณภาพผู้เรียนมากกว่าตัวเอง แล้วใครจะมาช่วยลดค่าใช้จ่ายเราได้บ้าง
1.5 ค่าใช้จ่ายในการสร้างความน่าเชื่อถือ ต้องเอาสัจธรรมที่ว่าพออยู่พอกินออกไปบ้าง เพราะโลกนี้มีแต่คนที่อยากคุยกับคนที่ดูดี ถึงจะสร้างภาพขึ้นมาก็เถอะนะ ถามว่าใครจะอยากคุยกับอาจารย์ที่ไม่ดูแลตัวเองใช่มั้ยล่ะ ถ้าเงินเดือนน้อยๆ ค่าใช้จ่ายในการดูแลตัวเองจะไปเอาจากไหน???
2. ชะตาชีวิตกำหนดมา ส่วนหนึ่งที่ทำให้เลือกทำในสิ่งที่รักและชอบไม่ได้... งานอื่นที่ได้เงินเยอะกว่า ซึ่งแน่นอนว่าเราจะได้ใช้อะไรที่เรียนมาเต็มๆ มากกว่า และรู้ผลเลยว่าไอ้พวกหลักการน่ะ มันใช้ได้จริงแค่ไหน เรากลับไม่ได้งานอื่นทำ ซึ่งจะเรียกเงินเดือนต่ำหรือสูงก็ใช้งานคุ้มเท่ากันอยู่ดี แล้วถ้าเข้าไปแล้วจะขอต่อรองเงินเดือนลำบาก พอต่อรองก่อนเข้าก็ไม่จ้าง จะให้ทำอะไรกินล่ะคะ ในเมื่อผ่านเข้ามาบรรจุมาเป็นอาจารย์จำเป็นไปแล้ว ในฐานะผู้สอนที่ต้องการเงินมากกว่าคุณภาพ พร้อมจะเปิดทางให้กับคนที่สอนได้ดีกว่าและทำคนให้เป็นคนได้มากกว่า เพราะเราไม่ต้องการซ้ำรอยครูแย่ๆ ที่เราเคยเจอมาตั้งแต่อนุบาล เตือนตัวเองทุกครั้งว่า "เราไม่ใช้ผู้สอนที่ดี เพราะเรายังทำคนให้เป็นคนไม่ได้ดีพอ" และ "ถ้าเรายังสร้างคนให้มีจิตสำนึกดีๆ ในเรื่องต่างๆ ไม่ได้ เราก็ยังไม่กล้าเรียกตัวเองว่าเป็น อาจารย์ ได้เต็มปาก แม้ว่านักศึกษาจะเรียกเราแบบนั้นก็ตาม"
ถ้าจะให้สละที่นั่งให้ก็ควรจะมีอะไรเป็นหลักฐานให้แน่ใจด้วยว่างานใหม่ที่เราจะไปทำดีกว่างานปัจจุบันมากพอ... (หมายถึงพวก หน้าที่การงาน ตำแหน่ง สวัสดิการเพิ่มเติมจากมาตรฐาน โอการในการพัฒนาตัวเอง และการได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ และเงินเดือนที่ได้รับ)
--> ถ้าจะแก้ปัญหา ไม่ได้แก้แค่การศึกษานะ ต้องแก้ที่ "วัตถุนิยม" ก่อนต่างหาก...
เพราะอะไรที่ทำให้เราต้องการเงิน???
ไม่ใช่ "สิ่งของ" "ความอยาก" "ความต้องการ"เหรอ??
"วัตถุนิยม" ไม่ได้มาจากการสร้างความอยาก... อยากมี อยากเป็น อยากได้เหรอ???
แล้ว "วัตถุ" มีอะไรมาแลกได้บ้างนอกจาก "เงิน" หรือทุกอย่างที่เป็น "มูลค่า" จากเงิน???
ถ้างั้น.. เพราะอะไรที่ทำให้เราต้องการเงิน???
ไฟฟ้า ประปา ไม่ใช่ "เงิน" เหรอ ที่ต้องเอาไปแลกมา???
ไม่ใช่เพราะ "เงิน" เหรอ ที่ทำให้เกือบทุกคนยอมเอา "ศักดิ์ศรี" ไปแลก???
เพราะ "ความต้องการ" ที่เดี๋ยวนี้ ต้องใช้ "เงิน" มาแทนที่การแลกของกัน
การใครต้องการอะไร เรามีอย่างนึงที่ไม่ได้ใช้ เค้าก็มีอีกอย่างที่ไม่จำเป็นสำหรับเค้าก็เอามาแลกกัน บางทีมันมีค่ามากกว่าเงินด้วยซ้ำ แต่ทำไมคิดแต่ว่าแลกแล้วไม่คุ้มๆ
คงไม่ทันคิดว่าวันนึง "เงิน" มันก็เป็นแค่เหล็กกับกระดาษ สินะ...
พยายามแบ่งเป็นหัวข้อแต่ก็แยกกันได้ไม่ขาดนัก ถ้าให้เขียนตำราจริงๆ ก็คงสรุปเนื้อหาทั้งวิชาลงได้ภายในไม่กี่หน้ากระดาษ!!!
No comments:
Post a Comment