Sunday, January 10, 2010

อาชีพนักกีฬา... กับประเทศไทย

วันนี้ขอยกข่าวกีฬามาสองอัน กับคำถามอีกหลายๆคำถามที่เราว่าคงมีหลายคนที่อยากจะถามแบบนี้เหมือนกัน... (จากบล็อกที่ปิดไปแล้ว ที่ลงไว้เมื่อ 8/22/08)

คนไทยได้บทเรียน จากน้องเก๋ และ วรพจน์
ถ้า คนไทยไม่เพียงแค่เฮตามกระแส "ฮีโร่" โอลิมปิก แต่พยายามสรุปบทเรียน จากชัยชนะ และความพ่ายแพ้จาก "น้องเก๋" และ "วรพจน์" ที่ปักกิ่ง บางทีเราอาจจะได้ประโยชน์สำหรับทั้งประเทศมากกว่านี้
เพราะในชัยชนะและ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงเสียงหัวเราะและน้ำตาที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปจนถึงการแข่งขันกีฬา ชาติ ภูมิภาคและระดับโลกคราวหน้าเท่านั้น หากแต่ยังมีประเด็นที่ทำให้คนทั้งประเทศต้องเรียนรู้มากมาย
ถ้าคนไทยไม่ ใช่เพียงแค่สนใจว่า "น้องเก๋" ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล จอมพลังสาวเหรียญทองปักกิ่งเกมส์ มีแฟนแล้วหรือยัง หรือชอบกินอะไรเป็นพิเศษ หากแต่ฟังเธออย่างลุ่มลึกกว่าเพียงแค่คำถามคำตอบผิวเผิน ก็จะได้ความเห็นอันมีค่าและลึกซึ้งหลายประการ
เธอพูดหลายครั้งในหลาย โอกาสตั้งแต่กลับจากปักกิ่งว่า "ผู้ใหญ่" ในบ้านเมืองควรจะได้รับรู้ว่านักกีฬาระดับชาติที่คนทั้งประเทศตั้งความคาด หวังไว้อย่างสูง และถือเป็นความภาคภูมิใจระดับสากลนั้น ความจริงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
น้องเก๋ บอกว่า "พวกเราหลายคนไม่รู้อนาคตตัวเอง หลายคนไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเพิ่มเติม และหลายคนเมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว ไม่มีงานทำ..."
คนไทยฟังแล้วก็ผ่านไป ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวกับเรื่องกีฬาได้ฟังแล้วก็กลับไปทำอะไรเหมือน เดิม...เพราะเราต้องการแต่เพียงผลที่คนทั้งประเทศต้องการ แต่ไม่มีใครลงมือแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เพราะเราไม่มีแผนระดับชาติในการสร้างนักกีฬาระดับโลก...เพราะเราปล่อยให้มีนักกีฬาไทยระดับโลกตามมีตามเกิด
และ เมื่อนักกีฬาคนไหนสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติแล้ว ก็ตื่นเต้นยินดีกับเขาหรือเธอเพียงระยะสั้น จากนั้นก็ลืมพวกเขา ทิ้งให้แต่ละคนดิ้นรนต่อสู้ในชีวิตของตนเองต่อไปอย่างคนที่ "โลกลืม"
น้อง เก๋ พูดเตือนสติคนทั้งชาติด้วยน้ำเสียงนิ่มนวล แต่คนไทยที่ฟังเธอควรจะต้องได้สติจากความเห็นของ "ฮีโร่" คนล่าสุดของประเทศ เพราะเธอเป็นคนมี "สาระ" และต้องการจะพูดเรื่องที่เป็นเนื้อหาของการสร้างนักกีฬาระดับชาติของประเทศ มากกว่าที่จะตอบคำถามผิวเผินไร้ความหมายอย่างเช่น "หนูมีแฟนหรือยัง?" หรือ "ตื่นเต้นไหม?"
วรพจน์ เพชรขุ้ม นักมวยไทยที่พ่ายคู่ชกจากคิวบา นั้น แม้จะแพ้แต่ก็ให้บทเรียนอันมีค่าสำหรับคนไทยทั้งประเทศ
ภาพ ที่เขาร้องไห้หลังจากลงจากเวทีที่เราเห็นบนจอทีวีนั้น เป็นการสะท้อนความรู้สึกของนักกีฬาระดับโลกของไทย ที่ไม่อาจจะทำให้ความฝันของคนไทยทั้งประเทศเป็นจริงได้ เป็นการแสดงความรับผิดชอบของนักกีฬาที่รู้ว่าคนทั้งประเทศตั้งความหวังไว้ สูงยิ่งสำหรับเขา แต่เป็นความผิดของวรพจน์ หรือเปล่าที่ทำให้คนไทยไม่น้อยผิดหวัง?
เปล่าเลย คนไทยต่างหากที่ตั้งความหวังไว้สูงแต่ไม่ได้ทำอะไรให้เขาสามารถยกระดับความ สามารถให้เทียบทันกับฝีมือระดับโลกที่จะแข่งเหรียญทองได้ ดูจากการพันตูระหว่างวรพจน์ กับนักชกคิวบา ที่ชื่อแยนเกล ลีออน อลาร์กอน แล้วก็ต้องยอมรับว่าฝีมือของนักชกไทยเรายังห่างชั้นกับมาตรฐานโลกอยู่ไม่ น้อย แต่วรพจน์ ก็ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถแล้ว และคงจะร้องไห้เพราะรู้ว่าที่ดีที่สุดของตัวเองยังไม่ดีพอสำหรับความความคาด หวังของคนไทย
แต่มาตรฐานโลกนั้น (ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬาหรือด้านไหน) ไม่อาจจะสร้างได้เพียงแค่ตัวนักกีฬาเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ตั้งแต่รัฐบาลลงมาถึงคนไทยในวงการต่างๆ ในภาคเอกชน และวงการวิชาชีพ ที่จะต้องถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันในการ "สร้างคน" อย่างเป็นระบบ และต้องระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรการเงิน การสนับสนุน ความร่วมมือทั้งจากครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน และเครือข่ายสังคมทั้งหลายทั้งปวง
ความสำเร็จทางการกีฬาเป็นมาตรวัด มาตรฐานของคุณภาพคนของประเทศนั้นๆ ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ผ่านมา เรามองนักกีฬาเป็นเพียง "ตัวละคร" ของความบันเทิงสำหรับสังคมไทยที่ต้องดิ้นรนช่วยตัวเอง และฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการด้วยตนเอง เราเพียงต้องการหัวเราะกับชัยชนะ แต่เรามักจะถอยหนีจากความพ่ายแพ้เกือบจะทันที...เพื่อร่วมฉลองกับผู้ที่แสดง บทเป็น "ฮีโร่" คนต่อไปเท่านั้น โดยที่เราไม่เคยสำเหนียกว่าชัยชนะที่แท้จริงนั้นคือการเรียนรู้จากความพ่าย แพ้เลย

แหล่งที่มา
กรุงเทพธุรกิจ

อันนี้จากความเห็นใน พันทิป เกี่ยวกับนักฟันดาบ...
ขอ ระบาย อยากเล่าให้ฟัง เรื่องก็คือว่าคุณวิลลี่ วิระเดช คอทนี่ย์(ถ้าสะกดชื่อผิด ขออภัยด้วยครับ)เป็นคนไทย ที่ไปใช้ชีวิตอยู่เยอรมันตั้งแต่ 3 ขวบ เล่นกีฬาฟันดาบ และมีฝืมือค่อนข้างสูง นิสัยดี ขยันขันแข็ง8 ปีก่อน ได้เหรียญทองแดงในกีฬาฟันดาบประเภท เซเบอร์ จากโอลิมปิค ให้แก่ประเทศ"เยอรมัน"ขณะนั้น อายุ 21 ปี
ไม่ ค่อยแน่ใจว่าได้รับการติดต่ออย่างไร ถึงได้มาขอใช้สัญชาติไทย และคัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยแต่เป็นสิ่งที่คุณวิลลี่ ภาคภูมิใจมากว่าได้รับเกียรติเป็นตัวแทนประเทศไทย
แต่ เนื่องจากสมาคมฟันดาบของประเทศไทยมีการจัดการที่ยังไม่ค่อยดีนัก...การจะ เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปีค นอกจากการเข้าคัดเลือกทั่วไปแล้ว นักกีฬายังจำเป็นจะต้องมีอันดับ (Ranking) ในระดับโลกที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ซึ่งมาจากการเก็บแต้มในทัวนาเม้นท์ต่างๆ
- จุดนี้ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไม และมีส่วนกับการคัดเลือกแค่ไหน แต่เอาเป็นว่า สำคัญ
การ ฝึกซ้อมกับนักกีฬาที่ฝืมือใกล้เคียงกันเพื่อคงระดับความสามารถ หรือพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ก็จำเป็นต้องหาคู่ซ้อมหรือโค้ชต่างประเทศซ้อมที่ไทย ไม่ใช่ซ้อมไม่ได้ แต่มันจะดีกว่านี้ ถ้าไปหาคู่แข่งที่เก่งกว่าตัวเอง ไปแข่งในทัวนาเม้นท์ระดับโลก ของทางยุโรป
ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่ง"จำเป็น" ในการพัฒนาฝืมือ เพื่อเป้าหมายในการชิงเหรียญทองโอลิมปิค
แต่ สมาคมไม่ได้มีการจัดการที่ดีในระดับที่ควรจะเป็นกลับให้นักกีฬาดิ้นรนจัดการ เรื่องดังกล่าวเอง โดยให้"สำรองจ่ายไปก่อน" แล้วมาเบิกกับสมาคมฯ คือสนับสนุน แต่ต้องดิ้นรนก่อนนะ
แล้วเรื่องมัน เป็นไงคุณวิลลี่ก็พยายามเต็มที่แต่ เอาเงินจากไหนมาจ่ายล่ะ? เอาวะ ขอกู้ธนาคารเลย เอ้า ทุ่มเทแล้วเป็นไงล่ะ สมาคมฯ ก็ไม่จ่ายคืนให้น่ะสิ!! (คุณโง่จ่ายก่อนทำไม คือ คำพูดที่บางคนในสมาคมฯ พูดใส่วิลลี่)
นั่น แค่เรื่องเงิน ซึ่งโดยส่วนตัว คุณวิลลี่ค่อนข้าง ทำใจ เอาไว้แล้ว ว่าอาจจะไม่ได้คืนแต่เรื่องที่วิลลี่ต้องออกมาพูด เพราะเขาคิดจะเลิกเล่นกีฬานี้ (เลิกเข้าแข่งขัน แต่อาจจะยังเล่นเป็นกีฬาสำหรับเขา) แล้วเขาเป็นห่วงอนาคตของนักกีฬาฟันดาบของประเทศไทย ในเรื่องต่างๆ ซึ่งถ้าเขาไม่พูด มันก็คงไม่มีใครรู้...
โดย เฉพาะในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งนี้ ขาดการประสานงานที่สมควรจะทำเป็นอย่างมาก จนทำให้ นักกีฬาฟันดาบของไทยทั้งสองประเภท ไม่สามารถจะมีผู้ฝึกสอนอย่างเหมาะสมได้เกือบไม่ได้ลงแข่ง เพราะมีมีผู้จัดการเข้าไปรับฟังกำหนดการและการจับสลาก เพราะ "ผู้จัดการ" ยังไม่ได้ไปที่ปักกิ่ง "เขา"ไปก่อนวันแข่ง แค่วันเดียว (ผู้จัดการ ก็ไม่ใช่โค้ช หรือผู้ฝึกสอนด้วย)
วิลลี่จึงอยากจะให้สมาคมฯ ทำ ตัว ให้ ดี กว่า นี้ เถอะ ขอ ร้อง!!!
อ่านกระทู้แนะนำเลยครับ เพื่อความสะใจ หาดูรายการย้อนหลัง จับเข่าคุย ช่อง3 เวลาประมาณ 5 ทุ่ม วันที่ 18 ด้วยนะครับ
จากคุณ : มาม่าไข่มะตูม - [ 21 ส.ค. 51 00:56:36 ]


ส่วนคำถามของเราคือ...
  1. จะ ตั้งสมาคมกีฬามาทำไม ถ้าไม่สร้างให้นักกีฬาเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนยอมรับ (ที่จีนเค้าได้เหรียญกันเยอะแยะเพราะถ้าเค้าเป็นนักกีฬาแถวหน้าได้ เค้าถึงจะมีกิน เป็นอาชีพที่คนยอมรับ และรัฐสนับสนุนเต็มที่)
  2. กีฬาในเมืองไทย อยากรู้ว่าเค้าไปเอาเหรียญมาแบบนี้ จะจ่ายค่าเรียน ค่าซ้อมที่เค้าเสียไปคืนมั้ย
  3. ถ้า มีใครสักคนที่เสนอตัวเองไปแข่งด้วยการยัดเงินให้ (ฝีมือพอมีด้วยนะ) แค่ต้องการให้ดูดีว่าไปแข่งระดับโลกมา สมาคมจะอนุมมัติมั้ย... ถ้างั้น คนรวยๆก็มีสิทธิ์มากว่าใช่มั้ย (อันนี่คิดว่าไม่น่ามีใครทำ แต่แค่อยากรู้ว่าถ้ามีคนทำจริงๆล่ะ)
  4. แล้ว กีฬาอื่นที่ไม่มีคนสนใจล่ะ ก็อารมณ์สมาคมมาเอาหน้าเหมือนกัน แต่เพราะใจเค้ารักที่จะทำบวกกับพรสวรรค์ที่เค้าเสียดายถ้าไม่เล่นต่อ ทั้งๆที่เห็นอยู่ว่าไม่ได้อะไร...

No comments: