Thursday, November 12, 2015

วิธีกรวดน้ำ

วิธีกรวดน้ำโดยท่านธรรมรักษา จาก Thaiware
การกรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วพร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้ เพื่อให้จำง่ายไม่สับสน จึงขอแยกเป็นข้อๆ ดังนี้
1. การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้
2. การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น ชื่อพ่อ แม่ ลูก หรือใครก็ได้ อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราก็ควรอุทิศเจาะจง ที่เหลือก็อุทิศรวมๆ
3. น้ำกรวด ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น และเมื่อกรวดก็ควรรินลงในที่สะอาดและไปเทในที่สะอาด และที่สำคัญ อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก
4. น้ำเป็นสื่อ - ดินเป็นพยาน การกรวดน้ำมิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ตายกินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ
5. ควรกรวดน้ำตอนไหนดี ? ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังทำบุญเสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ - ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที - การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็ชวดไปด้วย
6. ควรรินน้ำตอนไหน ? ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา...” และรินให้หมดเมือ่พระว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา...” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า “สัพพีติโย วิวัชชันตุ...” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง
7. ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร ? ก็ควรใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆหรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น “อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ .... (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) .... และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด” หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า “ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณเจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ” ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้ ข้อสำคัญ ถ้าเป็นภาษาพระ ควรจะรู้คำแปลหรือความหมายด้วย ถ้าไม่รู้ความหมาย ก็ควรใช้คำไทยอย่างเดียวดีกว่า เพราะป้องกันความโง่งมงายได้
8. อย่าทำน้ำสกปรกด้วยการเอานิ้วไปรอไว้ ควรรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธี เกาะตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทางเหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน รินน้ำกรวดเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็พอ คนนอกนั้นก็พนมมือตั้งใจอุทิศไปให้
9. การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ ควรสำรวมจิตใจ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูกศรัทธา ความเชื่อ และความเลื่อมใสให้มั่นคงในจิตใจ ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญย่อมมีอานิสงค์มาก ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดจะมาโกงหรือแย่งชิงไปได้เลย
10. บุญเป็นของกายสิทธิ์ ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย

ลำดับของการอุทิศส่วนกุศลมีผลหรือไม่
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ที่มา : วัดท่าขนุน
 
ถาม : แล้วอย่างที่เราทำบุญแล้ว เราจะอุทิศส่วนกุศล ลำดับที่เราอุทิศส่วนกุศลมีผลไหมคะ ว่าเราจะต้องอุทิศให้ผู้ใดก่อน?
ตอบ : เรียกว่ามีก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้รับ ถ้าผู้รับกำลังบารมีเขาสูงกว่า อยู่ในสถานที่ๆ สมบูรณ์พร้อม จะให้ก่อนให้หลังท่านได้แน่นอน แต่ขณะเดียวกัน ถ้าหากว่าเป็นพวกเปรต อสุรกาย สัมภเวสีเหล่านี้ ถ้าให้ท่านก่อนท่านก็จะได้เต็มๆ ถ้าไม่ได้ให้ท่านก่อน แต่บอกให้เป็นการทั่วไป บางทีพวกที่กำลังสูงกว่าแทรกเข้ามา เขาก็เอาไปหมด คนที่กำลังน้อยกว่าก็อาจเข้าไม่ถึง เคยเห็นเวลาโปรยอาหารแล้วสัตว์เขาแย่งกันไหม? ตัวที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นที่จะได้ ลักษณะเดียวกัน เขาต้องการ ก็ต้องกันไม่ให้คนนี้เข้ามา
 
ถาม : ถ้าอย่างนี้ เวลาเราจะทำบุญให้ใคร เราระบุ..?
ตอบ : เจาะจง...ระบุชื่อให้เขาไปก่อนเลย แล้วค่อยอธิษฐานอย่างอื่น
 
ถาม : แล้วต้องจัดไหมคะ ว่าต้องให้ใครต่อ?
ตอบ : ก็แล้วแต่เราชอบใจ เอาตามแบบหลวงพ่อ ท่านก็ให้เจ้ากรรมนายเวรก่อน ถัดจากเจ้ากรรมนายเวร ก็เป็นเทวดาที่รักษาตัวเอง เทวดาทั้งหมดทั่วสากลพิภพ จนถึงพระยายมราช แล้วค่อยให้ญาติโยมที่ตายไปแล้ว จะใช่ญาติหรือไม่ใช่ญาติให้ทั้งนั้น
 
ถาม : แล้วอุทิศให้ตัวเองได้ไหมคะ?
ตอบ : ได้จ้ะ แต่อุทิศให้ตัวเอง อุทิศหรือไม่อุทิศตัวเองได้อยู่แล้ว ได้ตั้งแต่ตอนทำแล้ว
 
ถาม : แล้วการกรวดน้ำ กรวดน้ำอย่างไรเขาจะได้?
ตอบ : แค่เราตั้งใจ ว่าผลบุญทั้งหมดที่เราทำในครั้งนี้ ขอให้เขาโมทนา เราจะได้รับประโยชน์ความสุขเท่าไร ขอให้เขาได้รับด้วย แค่นี้เขาก็ได้รับแล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลาเอาน้ำรดมือหรอก การเอาน้ำรดมือนั้นเป็นรูปแบบของพราหมณ์ เขาจะให้อะไรใครก็เอาน้ำรดมือคนนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าให้แก่คนนั้นแล้ว พระเจ้าพิมพิสารท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน พออุทิศส่วนกุศลให้ญาติ ท่านไม่เห็นมือผี ก็เลยต้องเอาน้ำรดมือตัวท่านเอง เลยเป็นรูปแบบยึดต่อ ๆ กันมา ก็รดกันมาเรื่อย...

Friday, September 25, 2015

ปิดทององค์พระ

เวลาไปปิดทององค์พระจะได้ไม่ลืม... แต่รู้สึกว่า สงสยัทองแผ่นที่ให้มาจะไม่ค่อยพอนะ อิอิอิ
  1. ปิดทองบริเวณพระเศียร (ศีรษะ) - มีสติปัญญาแหลมคม มีความจำดี การเรียนดีเป็นเลิศ
  2. ปิดทองบริเวณพระพักตร์ (ใบหน้า) - จะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตก้าวหน้าในเรื่องการงาน
  3. ปิดทองบริเวณพระอุระ (หน้าอก) - ส่งผลให้เกิดสง่าราศี  เชื่อว่าจะมีผู้คนชื่นชอบ เป็นที่รักใคร่ของผู้คน 
  4. ปิดทองบริเวณพระอุทร (ท้อง) - จะส่งผลให้ร่ำรวย มีกินมีใช้ พรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง
  5. การปิดทองบริเวณพระนาภี (สะดือ)  - มีความเชื่อว่าผู้นั้นจะไม่เจอกับความอดอยาก  
  6. ปิดทองบริเวณพระหัตถ์ (มือ) - เป็นการเสริมบารมี จะเป็นที่น่ายกย่อง ผู้คนเคารพยำเกรง
  7. ปิดทองบริเวณพระบาท (เท้า) - ส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยที่พักอาศัย และยานพาหนะ
  8. ปิดทองบริเวณฐานรองพระองค์ - มีความเชื่อกันว่าจะช่วยส่งเสริมเรื่องเกี่ยวกับการมีอาชีพหรือหน้าที่การงานให้มั่นคง
ที่มา : 'ปิดทองพระ' ตำแหน่งไหน ดีอย่างไร...? ไทยรัฐออนไลน์ 13 พ.ค. 2557

Sunday, August 23, 2015

หน้าที่ในกองถ่าย

ไม่ได้เรียนสายนี้ แต่อยากได้ข้อมูลคร่าวๆ ไว้ใส่เครดิตงาน จะได้ใส่ถูกงาน เป็นข้อมูลที่รวมๆ มาจากเว็บบอร์ดนะ ^ ^

...Executive Producer = บางครั้งก็เรียกว่าผู้ควบคุมงานสร้างแหละค่ะ แต่จะเป็นโปรดิวเซอร์ในด้านเงินทุน จะเหนือกว่า Producer ค่ะ ก็ประมาณว่าเป็นคนให้ตังค์ทำหนังนั่นเอง

...Producer = เรียกว่า ผู้ควบคุมงานสร้าง เหมือนกัน ก็เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนายทุนอะค่ะ คอยดูแลควบคุมการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คุยกับนายทุนให้เข้าใจสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี แต่ก็ต้องคอยควบคุมดูแลไม่ให้ผู้กำกับออกนอกลู่นอกทาง หรือว่าใช้งบประมาณมากจนเกินไป บางครั้งโปรดิวเซอร์ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วยค่ะ เรียกว่าควบคุมผู้กำกับอีกที แต่ต้องให้อิสระผู้กำกับในแง่ของความคิดสร้างสรรค์นะคะ ไม่ไปจำกัดหรือทำให้ผู้กำกับทำงานลำบากมากขึ้น

...Director = ก็คือ ผู้กำกับภาพยนตร์นั่นแหละค่ะ เป็นผู้กำกับควบคุมทิศทางของกองถ่ายทั้งหมด ทั้งในแง่ของการแสดง และงานเบื้องหลังอื่น ๆ หน้าที่หลักของผู้กำกับก็คือคิดเพื่อเล่าเรื่องค่ะ และต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกองถ่ายเพื่อคอยแก้ไขด้วย ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่ผู้ช่วยฯ ตัดสินใจเองไม่ได้ ผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจ ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไรค่ะ

...Writer = ก็น่าจะหมายถึงคนเขียนบทภาพยนตร์นะคะ

...Cinematographer = ผู้กำกับภาพ ก็คือ ตากล้องที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพนั่นแหละค่ะ แต่ว่าไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทำตามคำสั่งของผู้กำกับอย่างเดียวนะคะ ผู้กำกับภาพจะได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้กำกับว่าต้องการอารมณ์แบบไหน เล่าเรื่องยังไง แล้วผู้กำกับภาพก็จะมาคิดวิธีการถ่าย ออกแบบช็อต ออกแบบภาพที่จะออกมาผ่านเฟรม แล้วก็เอาไปเสนอผู้กำกับว่าจะถ่ายแบบนี้นะ ภาพประมาณนี้นะ โอเคมั้ย ผู้กำกับก็ตัดสินใจว่าจะเอาไม่เอา นอกจากนี้ ผู้กำกับภาพต้องคอยดูแลเรื่องการจัดแสงด้วยค่ะ เพราะนอกจากการจัดองค์ประกอบภาพแล้ว การจัดแสงก็จะช่วยในการสื่อสารอารมณ์ของภาพด้วย เพราะฉะนั้นผู้กำกับภาพต้องรู้เทคนิคต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะสร้างสรรค์ภาพให้สามารถสื่อสารได้ดังใจผู้กำกับค่ะ

 ...Art Director = ก็คือ ผู้กำกับศิลป์ ก็คือ ออกแบบ สร้างสรรค์งานสร้างทั้งหลายที่เราเห็นอยู่ในหนังแหละค่ะ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านการสร้างฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือที่เรียกว่า Prop การแต่งกายของนักแสดง องค์ประกอบภาพที่จะออกมาในเฟรม ทั้งหมดนี้ ผู้กำกับศิลป์ ต้องดูแลและสร้างสรรค์งานทั้งหมดให้ออกมาตามที่ผู้กำกับต้องการค่ะ เพราะว่างานศิปล์ในการสร้างหนังนั้น ทั้งฉาก Prop เสื้อผ้า และอื่น ๆ ต้องออกมากลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกัน เสื้อผ้าจะโดดจากฉากไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องมีผู้กำกับศิลป์คอยกำกับดูแลทั้งหมดนี้ให้เป็นกลมกลืน สวยงาม และตรงตามโจทย์ที่ผู้กำกับกำหนดค่ะ

...Editor = ก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ตัดต่อภาพค่ะ ทำหน้าที่นำภาพจากฟิล์มที่ถ่ายทำมา มาร้อยเรียงให้เป็นภาพยนตร์ ตามบทภาพยนตร์หรือ Storyboard ที่มีอยู่ แต่ใช่ว่าผู้ตัดต่อจะต้องตัดต่อตามบทเป๊ะ ๆ นะคะ ผู้ตัดต่อสามารถใส่เทคนิคต่าง ๆ หรือว่าเสนอวิธีการเล่าเรื่องที่แตกต่างไปได้ แต่ต้องเล่าในสิ่งที่ผู้กำกับต้องการนำเสนอค่ะ แต่ถึงแม้จะเล่าเรื่องให้ตรงตามบทภาพยนตร์ แต่ผู้ตัดต่อภาพก็ต้องรู้วิธีการเล่าเรื่องให้มีความต่อเนื่อง รู้จังหวะว่าจังหวะไหนที่ควรจะตัดภาพนี้ เปลี่ยนไปอีกภาพหนึ่ง ไม่ให้สะดุด ก็ยากมาก ๆ เหมือนกันค่ะ

...Stunt Coordinator = ก็ประมาณว่าควบคุมดูแลเรื่องสตั๊นท์แหละค่ะ พูดง่าย ๆ ก็อาจจะประมาณพี่พันนา ฤทธิไกร ในต้มยำกุ้ง แต่ทีนี้พี่พันนาเค้าเหนือกว่า Stunt Coordinator ตรงที่เค้ากำกับคิวบู๊ ออกแบบคิวบู๊ ด้วย ถือว่าเป็น Martial Coreographer ค่ะ (สะกดถูกรึเปล่าไม่แน่ใจนะคะ)

...Production Manager = ผู้จัดการกองถ่าย ก็คือ คนที่คอยดูแลประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการต่าง ๆ ในกองถ่าย เช่น นัดหมายนักแสดง จัดการเรื่องสวัสดิการในกองถ่าย การเงิน คือ เรียกได้ว่า ทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การประสานงานในกองถ่าย คุณผู้จัดการคนนี้ต้องดูแลค่ะ อย่างทีมงานจะต้องขึ้นรถที่ไหน กี่โมง ใครขึ้นรถคันไหน ไปถึงแล้วจะกินข้าวที่ไหน แต่งหน้าทำผมตรงไหน ถ้าต้องมีการย้ายสถานที่ถ่ายทำก็ต้องคอยดูแลจัดการเรื่องการขึ้นรถ การเคลียร์สถานที่ถ่ายทำเดิมที่เสร็จแล้วด้วย ถ้าในกองถ่ายขาดอะไร ต้องการอะไร ก็ต้องหามาให้ได้ รวมทั้งดูเรื่องเวลาการถ่ายทำด้วยว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ว่าวันนี้จะเลิก 6 โมงเย็น แต่ยังไม่เสร็จเลย อาจเลื่อนไปถึงเที่ยงคืน เลื่อนได้ไหม สถานที่มีปัญหาไหม งบจะบานปลายมากไปหรือเปล่า เรียกได้ว่าดูแลการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และคอยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ งานยิบย่อยมาก ๆ

...Assistant Director/Second Assistant Director = ผู้ช่วยผู้กำกับ ก็ตามตำแหน่งเลยค่ะ ทำหน้าที่ช่วยผู้กำกับทุกด้าน โดยปกติก็จะแบ่งเป็น ผู้ช่วยผู้กำกับ 1, ผู้ช่วยผู้กำกับ 2, ผู้ช่วยผู้กำกับ 3 (อาจมีแค่ 1 คน หรือ 3 คนก็ได้ แล้วแต่กองค่ะ) ทำหน้าที่คอยจัดการให้สิ่งที่ผู้กำกับต้องการนั้นออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ ถ้าในขั้นเตรียมงานก่อนวันถ่ายทำ ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะช่วยในด้านการคัดเลือกนักแสดง การจัดให้นักแสดงมาซ้อม มาลองเสื้อผ้า จัดตารางเวลาการถ่ายทำ ดูแลและตามงานในฝ่ายต่าง ๆ ให้กับผู้กำกับ เช่น งานด้านฉาก Prop เสื้อผ้า สถานที่ถ่ายทำ พอมาถึงในกองถ่าย ก็ต้องคอยประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ขณะที่ทำการถ่ายทำ เช่น ดูแลเรื่องการแต่งตัวแต่งหน้านักแสดงให้เป็นไปตามกำหนดการและตามที่ผู้กำกับต้องการ ดูแลการเซ็ตฉาก Prop ให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับบอก เช็คดูว่ากล้อง ไฟ เสียง พร้อมไหม การถ่ายทำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ผู้กำกับต้องช่วยให้การถ่ายทำเป็นไปตามตารางเวลา ไม่เกินกำหนด ช่วยผู้กำกับในการโยกย้ายตารางการถ่ายทำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หากมีปัญหาอะไรในเบื้องต้นที่สามารถแก้ไขได้ก็ต้องแก้ไขในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะถึงมือผู้กำกับ เรียกได้ว่าเป็นมือเป็นเท้าของผู้กำกับเลยล่ะค่ะ แล้วผู้ช่วยผู้กำกับ 1 จะมีอำนาจมากกว่า ผู้ช่วยฯ 2 มากกว่าผู้ช่วยฯ 3 ซึ่งผู้ช่วยฯ แต่ละคนก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไปค่ะ

...Continuity Person = ผู้ควบคุมความต่อเนื่อง สำคัญมากเหมือนกัน คือ ในการถ่ายทำหนังนั้น ไม่ได้ถ่ายทำไปตามลำดับเวลาในหนังจริง ๆ วันหนึ่ง ๆ อาจถ่ายหลายฉาก และฉากหนึ่ง ๆ อาจถ่ายหลายวัน เพราะฉะนั้น ผู้ควบคุมความต่อเนื่องต้องคอยจดบันทึก รวมถึงถ่ายภาพเก็บไว้ ว่าภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละช็อตแต่ละฉากเป็นอย่างไร เช่น การแต่งตัวแต่งหน้าของนักแสดง Prop ที่อยู่ในฉาก นักแสดงประกอบมีกี่คน ใครบ้าง ยืนอยู่ตรงไหน คือภาพต่าง ๆ ที่อยู่ในเฟรมเนี่ย ต้องจดจำเอาไว้ให้ได้ เพื่อที่ว่าเมื่อกลับมาถ่ายฉากเดิมในวันอื่น ก็จะสามารถถ่ายได้เหมือนเดิม อารมณ์ต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ให้คนดูจับผิดได้ไงคะ

...Film Loader = ก็คือคนที่ทำหน้าที่เตรียมฟิล์ม และเปลี่ยนม้วนฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำ เวลาฟิล์มหมดอะค่ะ ซึ่งจะมี Reporter ทำหน้าที่คอยจดเวลาที่ใช้ไปในฟิล์มแต่ละม้วน ว่าถ่ายอะไรไปบ้าง และ Reporter ก็จะคอยดูค่ะว่าฟิล์มใกล้หมดม้วนรึยัง ความยาวของฟิล์มเพียงพอที่จะใช้ถ่ายทำในช็อตต่อไปหรือเปล่า เพราะถ้าเกิดกำลังถ่ายทำอยู่ โห...เป็นฉากที่เน้นอารมณ์เลย นางเอกกำลังร้องไห้ อินกับบทบาทสุด ๆ ฟิล์มเกิดหมดขึ้นมา คนที่ซวยก็คือ Reporter นี่แหละค่ะ มีความผิดโทษฐานที่ปล่อยให้ฟิล์มหมดม้วน

...Steadicam Operator = เป็นตากล้องคนหนึ่งแหละค่ะ เพียงแต่ว่ากล้องที่ถ่ายเป็นกล้องพิเศษที่เรียกว่า Steadicam คือ กล้องที่จะเซ็ตไว้ให้ติดกับตัวตากล้องเลย แล้วตากล้องจะเดินถือกล้องนี้ถ่ายไปด้วย เรียกว่ากระเตงน่าจะถูก เพราะว่ากล้องจะถูกยึดติดกับตากล้อง เหมือนเวลาที่คุณแม่เอาลูกใส่กระเป๋าแล้วผูกกับเอวเลยล่ะค่ะ ซึ่งตากล้องที่จะถ่ายกล้อง Steadicam ได้เนี่ยต้องแข็งแรงและเชี่ยวชาญมาก ๆ ในเมืองไทยมีคนที่ถ่ายได้น้อยมากค่ะ เท่าที่ทราบมามีคนเดียวเท่านั้นค่ะ

 ...Production Sound Mixer = ก็ตรงตัวนะคะ คือ คนที่ทำหน้าที่ Mix หรือผสมเสียงนั่นแหละค่ะ เพราะว่าในการถ่ายทำ เค้าจะถ่ายแยกเสียงเป็นช่องต่าง ๆ มีเส้นเสียงพูดของนักแสดงแต่ละคน เส้นเสียงบรรยากาศ แล้วก็ยังต้องมีการใส่ Special Effect เข้าไปอีก คน Mix เสียง ก็คือคนที่จับเอาเสียงพวกนี้มาผสมกันให้ได้อย่างกลมกลืนและสมจริงค่ะ

...Boom Operator = Boom ในที่นี้ก็คือ ไมค์บูมค่ะ เป็นไมค์ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บเสียงมาก สังเกตได้จากเบื้องหลังการถ่ายทำหนังเรื่องต่าง ๆ คุณอาจจะเคยเห็นไมค์ที่ด้ามยาว ๆ ตรงหัวไมค์มีขน ๆ ส่วนใหญ่จะสีเทา ๆ เหมือนไม้ถูพื้น นั่นแหละค่ะ ไมค์บูมล่ะ

...Key Grip = น่าจะเกี่ยวกับการจัดการเรื่องอุปกรณ์ไฟนะคะ

...Dolly Grip = อันนี้ก็เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรางดอลลี่อะค่ะ คือรางที่หน้าตาเหมือนรางรถไฟ ที่ตากล้องจะเอากล้องไปตั้ง แล้วขึ้นไปนั่งบนรางดอลลี่ แล้วเวลาถ่ายก็จะเลื่อนกล้องไปตามรางนี้ค่ะ จะทำให้ได้ภาพที่เคลื่อนไหวแบบนิ่งมาก ๆ

...Music Mixer = คิดว่าน่าจะคล้าย ๆ กับ Sound Mixer นะคะ แต่ว่า Mix เสียงที่เป็นเสียงเพลง และดนตรีประกอบอะค่ะ

...Visual Effects Director = ก็กำกับดูแลด้าน Effect ทางด้านภาพอะค่ะ

...FX Coordinator = FX ก็น่าจะหมายถึง Effect ค่ะ

...Post-Production Supervisor = ก็คือผู้ควบคุมดูแลงานด้าน Post-production คือ งานหลังจากการถ่ายทำเสร็จแล้ว นั่นก็คือ การตัดต่อ การพากย์เสียง การผสมเสียง การทำ Visual Effect/Special Effect ต่าง ๆ อะไรประมาณเนี้ยอะค่ะ

...Location Manager = เป็นคนที่จัดการเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหาสถานที่ถ่ายทำ การวางแผนเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำ เช่น สมมติว่าได้สถานที่ถ่ายทำฉากนี้แล้ว ก็ต้องดูว่าตรงไหนจะเป็นที่ถ่ายทำ ตรงไหนจะเป็นที่พักทานข้าว ที่แต่งหน้าทำผม จะเข้าห้องน้ำตรงไหน นักแสดงพักตรงไหน รถจะจอดตรงไหน การเดินทางไปสถานที่ถ่ายทำเดินทางด้วยวิธีไหน ดูเรื่องค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ถ่ายทำ ก่อนถ่ายทำต้องขออนุญาตตำรวจหรือไม่ ต้องขออนุญาตใช้เสียงหรือไม่ ฝ่ายฉากจะเข้าไปเซ็ตได้เมื่อไหร่ คือ ดูแลเรื่องสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ต้องทำงานประสานงานกับผู้จัดการกองถ่ายตลอดเวลา รวมถึงประสานงานกับผู้ช่วยผู้กำกับขณะถ่ายทำ และประสานงานกับฝ่ายฉากในตอนเซ็ตฉากด้วย เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่ค่อนข้างยิบย่อยค่ะ ส่วนสถานที่ถ่ายทำถ้าหากสถานที่เดียวสามารถถ่ายได้หลาย ๆ ฉากจะดีมาก หรือไม่ก็เป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน จะได้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง

...Property Master = Property ก็คือ Prop หรืออุปกรณ์ประกอบฉากนั่นเองค่ะ ก็คือ ดูแลเรื่องการหาอุปกรณ์ประกอบฉาก ซึ่งบางครั้งก็ต้องซื้อ เช่า หรือทำขึ้นมาใหม่

...Set Designer = ตรงตัวค่ะ ออกแบบฉาก

...Set Dresser = น่าจะเป็นคนที่ทำหน้าที่สร้างสรรค์ ตกแต่งฉากให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้นะคะ

...Costume Designer = คือผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดงค่ะ คือ แค่ออกแบบ ไม่ต้องลงไปจัดหาหรือว่าแต่งตัวให้นักแสดงเองก็ได้ แต่ต้องควบคุมดูแลให้การแต่งกายของนักแสดงออกมากแล้วเป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ตามโจทย์ที่ผู้กำกับต้องการ

...Costumer = คือ คนที่คอยจัดหาเสื้อผ้านักแสดง แต่งตัวให้นักแสดง ให้เป็นไปตามที่ Designer ออกแบบไว้ค่ะ

...Make-up Artist = ก็คือช่างแต่งหน้านักแสดงค่ะ

...Body Make-up Artist = ก็คล้าย ๆ ช่างแต่งหน้า แต่คราวนี้เป็นตบแต่งที่ร่างกายของนักแสดงค่ะ เพราะบางทีนักแสดงก็ต้องทาตัวดำ หรือว่าเติมแผล เติมร่องรอยต่าง ๆ นะคะ

...Hairdresser = ก็ที่เรียกกันว่าช่างทำผมนั่นแหละค่ะ

...Second Unit Director = ในบางครั้ง การถ่ายทำบางฉากก็ยิ่งใหญ่มาก มีการลงทุนสูง และถ่ายทำหลาย ๆ เทคไม่ได้ เช่น ฉากระเบิดใหญ่ ๆ ฉากสงครามต่าง ๆ ทำให้ต้องมีกล้องถ่ายภาพยนตร์หลายตัว ซึ่ง Second Unit Director ก็คือคนที่ทำหน้าที่ผู้กำกับในจุดถ่ายทำอีกจุดหนึ่ง หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ผู้กำกับกล้อง 2 ค่ะ ก็ทำหน้าที่เหมือนผู้กำกับแหละค่ะ แต่ว่าดูแลการถ่ายทำของอีกกล้องหนึ่ง บางทีก็มีกล้อง 3 กล้อง 4 กล้อง 5 ด้วยล่ะค่ะ

...Transportation Coordinator = ก็น่าจะหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเดินทางของกองถ่าย การย้ายสถานที่ถ่ายทำ การขนข้าวขนของมากองถ่าย รถไฟ รถน้ำ รถสร้างพายุ รถตู้นักแสดง รถผู้กำกับ รถทีมงาน อะไรประมาณนี้ล่ะมังคะ แต่ว่าส่วนใหญ่ที่เห็นในกองถ่ายหนังไทย หน้าที่นี้จะอยู่ในส่วนของผู้จัดการกองถ่ายค่ะ

 ...CASTING หรือ ผู้คัดเลือกนักแสดง  มีหน้าที่  คัดเลือกนักแสดงนำและจัดหาตัวประกอบ  คนทำหน้าที่ CASTING ควรเป็นคนที่ใจเย็น  สามารถพูดจาโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามได้  อธิบายเนื้อเรื่องและบุคลิกลักษณะของตัวละครให้กับผู้ที่มาทดสอบได้เข้าใจอย่างชัดเจนตรงกับจุดมุ่งหมายของผู้กำกับ รวมทั้งต้องมีมุมมองและรสนิยมที่ดี 

...PRODUCTION  DESIGNER หรือผู้ออกแบบงานสร้าง  มีหน้าที่  สร้างสรรค์รูปแบบ (STYLE) ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดทั้งเรื่องวางแผนการจัดฉาก มุมกล้อง MOOD &TONE  การจัดแสง  การใช้สี  เสื้อผ้า  การแต่งหน้า  ทรงผม  ต้องควบคุมทุกอย่างโดยปรึกษากับผู้กำกับ  เมื่อสรุปรูปแบบของภาพยนตร์ได้แล้วก็จะส่งมอบงานต่อให้กับ ART DIRECTOR นำไปปฏิบัติ

...GAFFER คือ คนจัดแสง ค่ะ

---------------------------
Credit : สมาชิกที่มาตอบคำถามในเว็บบอร์ด http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2006/10/A4755503/A4755503.html

Monday, April 06, 2015

วิธีการ ‘ปล่อยเลือด’ ช่วยชีวิตจาก ‘โรคหลอดเลือดในสมองแตกฉับพลัน’

แชร์ต่อจากไลน์ที่มีคนส่งต่อกันมา...
(อยู่ในไลน์บางทีไล่หากว่าจะเจอ + ล้างข้อมูลมันก็ไปหมดละ) Thank You kaaa...

วิธีการ ‘ปล่อยเลือด’ ช่วยชีวิตจาก ‘โรคหลอดเลือดในสมองแตกฉับพลัน’ (ท่านผู้ที่ดูแลพ่อแม่ควรรู้ไว้) จำให้แม่น ๆ เอาไว้ช่วยชีวิตคนได้บุญ

แพทย์อาวุโสแผนโบราณของไต้หวัน ได้ถ่ายทอดวิธีการช่วยชีวิตจาก โรคหลอดเลือดในสมองแตกฉับพลัน ซึ่งลูกกตัญญูหลายท่านเสียใจว่า ก่อนหน้านี้ไม่มีโอกาสได้อ่านเรื่องนี้..

เมื่อเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในสมองแตก เลือดจะไหลซึมออกมาอย่างช้า ๆ เมื่อพบกับสถานการณ์อย่างนี้ ขอให้ตั้งสติ ไม่ว่าช่วงจังหวะที่เกิดเหตุนั้นอยู่ ณ ที่ใด (ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องนอน หรือ ห้องนั่งเล่น) ขออย่าได้มีการเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยเป็นอันขาด เพราะถ้ามีการเคลื่อนย้าย จะเป็นตัวช่วยเร่งรอยแตกของเส้นเลือดฝอยให้มากขึ้น

สิ่งแรกที่ควรทำคือ ประคองผู้ป่วยให้เอนนั่งตัวตรงมั่นคงก่อน ระวังอย่าให้ล้มเอนลงอีก

เคล็ดลับการปฐมพยาบาล (ปล่อยเลือด)
ถ้าหากในบ้านมีเข็มฉีดยาอยู่ จะเป็นการดีที่สุด หากไม่มี ใช้เข็มเย็บผ้าก็ได้ แทงเข้าไปที่ปลายนิ้วมือ ทั้ง 10 ของผู้ป่วย (ไม่กำหนดจุดที่แน่นอน แค่ให้ห่างจากปลายเล็บนิ้วพอประมาณ) แทงให้มีเลือดไหลออกมา (ถ้าเลือดไม่ไหลออกมา ให้ใช้มือช่วยบีบได้) นิ้วละ 1 หยด ประมาณไม่กี่นาทีต่อมา ผู้ป่วยจะฟื้นตื่นขึ้นมา

ถ้ามีอาการปากเบี้ยว ให้ดึงหูทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยจนหูแดง ให้แทงที่ด้านล่างของใบหูทั้งสองข้าง ๆ ละ 2 ครั้ง (ติ่งหู) จนมีเลือดไหลออกมา เพียงไม่กี่นาทีปากก็จะกลับฟื้นคืนสภาพเดิมได้ และให้รอจนกระทั่งผู้ป่วยฟื้นคืนสภาพกลับมาเป็นปกติ โดยไม่รู้สึกว่ามีอะไรที่ผิดปกติแล้ว จึงค่อยนำส่งต่อไปหาแพทย์

ถ้าหากรีบร้อนอุ้มขี้นรถพยาบาลไปหาแพทย์ทันที เกรงว่าในระหว่างทางจะเกิดอาการช็อคขึ้นมาก่อนไปถึงโรงพยาบาล เส้นเลือดฝอยในสมองของเขาอาจแตกเพิ่มจนเกือบหมด ในกรณีที่โชคดีไม่ถึงตาย ก็อาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาตก็ได้

ถ้าหากว่า พวกเราสามารถจดจำวิธีการนี้ จะสามารถช่วยเหลือได้ทันที ในช่วงระยะเวลาที่สั้น ๆ นี้ สามารถทำให้ฟื้นคืนจากความตายได้ อีกทั้งยังช่วยให้รักษาที่โรงพยาบาลหลังจากนั้น จะมีความสมบูรณ์หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์

CR:อ.มาศ ซินแสไฮเทค

Monday, February 02, 2015

ข้อคิดเวลาเจอปัญหา...

ทำไมเด็กชายตัวน้อยถึงหานาฬิการาคาเป็นแสนของเศรษฐีเจอ ทั้งที่ผู้ใหญ่กว่า 20 คนหาไม่เจอ
2 กุมภาพันธ์ 2558 20:33 น. 
เศรษฐีกับพวกไปเที่ยวฟาร์มแห่งหนึ่ง ทุกคนสนุกสนานกับธรรมชาติ และกิจกรรมในฟาร์มมาก แต่ขณะที่กำลังจะเดินออก เศรษฐีคนนั้นก็พบว่า ”นาฬิกาพก”รุ่นเก่าที่ภรรยาซื้อให้ในวันเกิดหายไป มันต้องตกอยู่ในคอกม้าอย่างแน่นอน เขากับเพื่อนช่วยกันกระจายกันเดินหา”นาฬิกา”ทั่วคอกม้า

ระหว่างเดินหาเพื่อนก็พยายามพูดให้กำลังใจเศรษฐีคนนี้ เดินหาเท่าไรก็ไม่พบ เขาไปแจ้งเจ้าของฟาร์มให้ช่วยเหลือ เจ้าของก็แสนดีเกณฑ์คนที่ว่างงานอยู่เกือบ 20 คนไปค้นหา มีทั้งคุณลุงที่ประจำอยู่คอกม้า ผู้หญิงที่ทำความสะอาด และเด็กชายคนหนึ่ง ทุกคนกระจายกันค้นหา มีการตะโกนบอกกันเป็นระยะๆว่าค้นตรงนั้นแล้วไม่เจอ ให้คนนั้นไปหาตรงนี้ ใช้เวลาค้นหาประมาณ 1 ชั่วโมงก็หา”นาฬิกา”ไม่เจอ เศรษฐีเริ่มสิ้นหวัง คิดว่าคงต้องสูญเสียนาฬิกาเรือนนี้ไปอย่างแน่นอน

 ขณะที่พนักงานของฟาร์มจะเดินจากไป เด็กชายคนนั้นเดินย้อนกลับมาหาเศรษฐีคนนี้อีกครั้ง 
“ขอผมลองเข้าไปดูอีกครั้งนะครับ แต่ขอผมเข้าไปคอกม้าคนเดียว”

 แม้จะรู้สึกว่าเสียเวลาเปล่า แต่เมื่อเด็กน้อยมีน้ำใจ เขาก็พยักหน้าทั้งที่ไม่มั่นใจว่าจะหาเจอ พวกเพื่อนๆก็บ่นลับหลังว่าพวกเราและคนของฟาร์มตั้งเยอะยังหาไม่ได้

 “ไปหาคนเดียวจะเจอได้อย่างไร”

 แต่ไม่ถึง15 นาที เด็กชายคนนี้เดินออกมาด้วยรอยยิ้ม เขาชูนาฬิกา

 “ใช่ เรือนนี้หรือเปล่าครับ”

 เศรษฐีดีใจมาก เพราะนั่นคือ”นาฬิกาพก”แสนรักที่เขากำลังค้นหาอยู่ เขากล่าวขอบคุณและให้สินน้ำใจกับเด็กน้อยแต่ยังคาใจ

 “เธอหาเจอได้อย่างไร”

 เด็กน้อยยิ้มแฉ่ง บอกว่าพอเข้าไปข้างในคนเดียว เขาก็เพียงแต่นั่งเงียบๆ แล้วค่อยๆเปลี่ยนจุดนั่งไปเรื่อยๆ “แค่จุดที่ 3 ผมก็ได้ยินเสียงติ๊กต่อก ติ๊กต่อก” เขาเล่า

“ผมแค่เดินตามเสียงนั้นไปก็เจอนาฬิกาเรือนนี้ครับ”

การค้นหานาฬิกาเรือนนี้ทั้ง 2 ครั้ง ทุกคนคุยกันไปหากันไป ทุกคนพยายามมองหาตัว ”นาฬิกา” แต่ไม่ได้คิดจะฟัง”เสียง”ของนาฬิกา เสียงพูดคุยกลบเสียงดังของนาฬิกาไปสิ้น

 เรื่องเล่าเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการแก้ปัญหาไม่ได้มีเพียงหนทางเดียว เราสามารถค้นหา ”นาฬิกา” ได้ 2 แบบ จะ ”ดู” หรือจะ ”ฟัง”
ทุกปัญหาก็เช่นกัน เราจะแก้ปัญหาแบบที่คนส่วนใหญ่ทำ หรือเราจะมองปัญหาให้ละเอียด มองให้ครบทุกองค์ประกอบ บางทีการแก้ปัญหาอาจมีหลายหนทาง และอีกเรื่องหนึ่งที่ ”เด็ก”คนนี้สอนเราก็คือในวิกฤติที่คิดว่าปัญหาหนักหนาสาหัส บางครั้งเราต้องนิ่ง ต้องมี”สติ” ทำใจให้สงบ เมื่อมีสมาธิ จึงจะค้นพบ”ทางออก” ค่ะต้องนิ่ง และเงียบเท่านั้น เราจึงจะได้ยินเสียง”นาฬิกา"

 ดร. รสา คำ
ข้อมูลจาก: http://nisit.co/WZOr